ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นักเขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษา โปรแกรมและระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไรซึ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้คือ
1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม
5. จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรม
1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจและทำการวิเคราะห์ปัญหาเปํนลำดับแรกเพราะ
การทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะ
ต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบว่าโจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร
และการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น
ต้องป้อนข้อมูลอะไรบ้างและเมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปแล้วจะทำการประมวลผลอย่างไร
สิ่งหล่านี้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเพราะถ้าผู้เขียน
โปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้องผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับความ
ต้องการของโจทย์ได้
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
หลังจากทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาโจทย์จนได้ข้อสรปุว่าโจทย์ต้องการอะไร
แล้ว ผู้เขียนโปรแกรมก็จะทำการกำหนดแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนผังงาน
(Flowchart)
ซึ่งการเขียนผังงานคือการเขียนแผนภาพที่เป็นลำดับเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงาน
ของโปรแกรมเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจการเขียนผังงานมี 3 แบบคือ
แบบเรียงลำดับ(Sequential) แบบมีการกำหนดเงื่อนไข(Condition)
และแบบมีการทำงานวนรอบ(Looping) ซึ่งสัญลักษณ์ของผังงาน(Flowchart
Symbol) มีดังนี้คือ
รูป 2-1 แสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
2.1 การเขียนผังงานแบบเรียงลำดับ
![]() | อธิบายผังงาน1. Start เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่า x และ y ทางแป้นพิมพ์
3. z=x+yเมื่อ x+yได้ค่าเท่าไรให้นำไปเก็บไว้ยังตัวแปร z
4. แสดงค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร z
5. Stop จบการทำงาน
|
รูป 2-2 แสดงผังงานการบวกเลข 2 จำนวน
2.2 การเขียนผังงานแบบมีการกำหนดเงื่อนไข
รูป 2-3 แสดงผังงานการบวกเลข 2 จำนวน แบบมีเงื่อนไข
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด
เมื่อผู้เขียนโปรแกรมเขียนผังงานเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเขียน
โปรแกรมตามผังงาน ที่ได้กำหนดเอาไว้
ในกรณีที่เขียนด้วยภาษาซีการเขียนโปรแกรมก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และโครง
สร้างของภาษาซีเท่านั้น
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง
หลังจากขียนโปรแกรมเสร็จแล้วให้ทดลองคอมไพล์โปรแกรมว่ามีจุดผิดพลาดที่ใด
บ้าง ในภาษาซีการคอมไพล์ โปรแกรมจะใช้วิธีการกดปุ่ม Alt + F9
ในกรณีที่มีข้อผิดพลาดจะแสดงในช่องด้านล่างของหน้าจอเอดิเตอร์
ในส่วนของกรอบ message ให้อ่านทำความเข้าใจ
และแก้ไขตามที่โปรแกรมแจ้งข้อมูลผิดพลาดเมื่อเสร็จแล้วให้ทดลองรันโปรแกรม
5. จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรม
ถ้าหากรันโปรแกรมแล้วใช้งานได้แสดงว่าจะได้ไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น EXE
เพื่อนำไปทดสอบ้งานในที่ต่างๆและถ้านำไปใช้งานแล้วมีปัญหาก็ให้ทำการแก้ไข
โปรแกรมอีกครั้งแต่ถ้ารันโปรแกรมแล้วไม่มีปัญหาใดๆ
แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์จากนั้นผู้เขียนโปรแกรมก็ต้องจัดทำ
คู่มือประกอบการใช้งานและนำไปเผยแพร่ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น